หลักการ

แชร์หน้านี้

หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ (Independent Administrative Organization)


หลักการ

  1. เป็นหน่วยงานรูปแบบใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแลกิจกรรมของรัฐ หรือดำเนินกิจการบริการสาธารณะตามนโยบายสำคัญที่ต้องการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด ปราศจากแทรกแซงจากอำนาจทางการเมือง ซึ่งจะมีคณะกรรมการเป็นองค์กรที่มีอำนาจ และมีหน่วยธุรการเพื่อทำหน้าที่อำนวยการ
  2. ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร
  3. เป็นนิติบุคคล
  4. ความสัมพันธ์กับรัฐ

    • รัฐจัดตั้ง 
    • ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ
    • รัฐมีอำนาจกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด  เช่น ผ่านการแต่งตั้งถอดถอนคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง  การอนุมัติงบประมาณ  การให้นโยบาย ฯลฯ) 
    • บุคลากรมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    • ต้องการอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบังคับฝ่ายเดียวต่อประชาชนหรือกำกับตรวจสอบ
    • การบริหารงานไม่ใช้กฎระเบียบของทางราชการ 
    • รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา

การจัดประเภทของหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระตามลักษณะภารกิจ

(1) หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแล


      เป็นหน่วยธุรการขององค์การที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้อย่างแท้จริง โดยไม่บิดเบือน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ในต่างประเทศจะใช้ในการกำกับตลาดเงินและตลาดทุน ตัวอย่างเช่น International Trade Commission และธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ตลาดหลักทรัพย์ องค์กรควบคุมกำกับวิทยุโทรทัศน์ของฝรั่งเศส


      สำหรับในประเทศไทยเป็นหน่วยงานจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงาน
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นต้น


(2) หน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่ทำหน้าที่ให้บริการ


      เป็นหน่วยธุรการขององค์การที่จัดตั้งขึ้น เพื่อให้การให้บริการสาธารณะของรัฐในกิจการใดกิจการหนึ่ง ที่ต้องการความมีอิสระจากฝ่ายบริหารและปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยเฉพาะสื่อมวลชน


      สำหรับในประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ ตัวอย่างเช่น องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เป็นต้น


ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 31 ส.ค. 2018